แนวคิดการจัดการความรู้(Knowledge Management)
ความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ
วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึง การเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
จุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้
เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ คือ
การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น
รวมไปถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
โดยผ่านการสนับสนุนจากเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
เพื่อใช้เก็บรวบรวมและเผยแพร่ วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการจัดการความรู้
มีดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้องค์กรตระหนักและเห็นความสำคัญของความรู้ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล
และในองค์กร โดยนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งในแง่ของการทำงานและวิถีการดำเนินชีวิต
2. มีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้อย่างเป็ระบบ เช่น
การเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
การนำระบบอินทราเน็ตมาใช้ในการติดต่อ
และเปลี่ยนองค์ความรู้ภายในและระหว่างหน่วยงาน
3. เพื่อสร้างและพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร
โดยการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น
ระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในสถานศึกษา ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน เป็นต้น
ประเภทของความรู้
ความรู้สามารถแบ่งออกได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น
หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งเป็นความรู้ที่ถูกบรรยายออกมาเป็นตัวอักษร
เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ วารสาร เป็นต้น
ส่วนความรู้แฝงเร้นเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล ส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้ที่แฝงเร้นอาจอยู่ในในบุคคลที่ทำงานในองค์กรหรือแผนกต่าง
ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละด้าน
จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งก็คือ การจัดการความรู้
1. ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่จัดการรวบรวมได้ง่าย
มีการจัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการทางดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective)เป็นแนวคิดและทฤษฏี
สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ เช่น นโยบายขององค์กร
แนวคิดวิธีการในการทำงาน เป็นต้น
2.ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้เป็นคำพูดได้
เป็นความรู้ที่มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ในวิถีการดำรงชีวิต
อาจมีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ เช่น ทักษะในการประกอบอาชีพ ทักษะในการจักรสาน
เป็นต้น
ความรู้แบบฝักลึกต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญมีลักษณะเป็นเรื่องเฉพาะส่วนบุคคล
เช่น วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องต่างๆ เป็นต้น
ระดับความรู้
ระดับที่ 1 : Know-what (รู้ว่า คืออะไร)
เป็นความรู้ในเชิงการรับรู้
ระดับที่ 2 : Know- how (รู้วิธีการ)
เป็นความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ
ระดับที่ 3 : Know – why (รู้เหตุผล) เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ในเชิงเหตุผลที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่ภายใต้เหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ
ความรู้ในระดับนี้สามารถพัฒนาได้บนพื้นฐานของประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา
ระดับที่ 4 : Care-why (ใส่ใจกับเหตุผล)
เป็นความรู้ในลักษณะการสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง บุคคลที่มีความรู้ในระดับนี้จะมี
เจตจำนง แรงจูงในและการปรับตัวเพื่อความสำเร็จ
แนวคิดการจัดการความรู้แบบ Tuna Model
ตัวแบบทูน่า (Tuna Model) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายมีลักษณะที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก
มีความเหมาะสมในการใช้เป็นแนวทางเพื่อดำเนินการในการจัดการความรู้โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา
ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหัว ส่วนลำตัว และส่วนหาง
แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
1. ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision – KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน
ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
2. ส่วนกลางลำตัว (Knoledge Sharing – KS) ส่วนที่เป็นหัวใจได้ให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ
เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3. ส่วนหาง (Knowledge Assets – KA) คือ สร้างคลังความรู้
เชื่อโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ “สะบัดหาง”
สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ
การจัดการความรู้
เป็นเครื่องมือในการเก็บสร้าง เก็บรวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์
รวมถึงเผยแพร่องค์ความรู้
เพื่อประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์กรซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลความรู้นั้นอาจมาจากองค์ความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
เช่น หนังสือ ตำรา เป็นต้น รวมถึงองค์ความรู้ที่มาจากตัวบุคคล เช่น
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น