ประวัติปลาทอง
ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง ( Goldfish ) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน ( Cyprinidae )
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิม ถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิม ถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง
จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว
เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน
โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี
ค.ศ. 1502 - 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว
100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน
ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน
ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า
ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง , สีทอง , สีส้ม , สีเทา , สีดำและสีขาว แม้กระทั่งสารพัดสีในตัวเดียวกัน
ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20 - 30 ปี
ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370 - 1489
ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7 - 8 ปี
พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น
เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุบันมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์
ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป
สายพันธุ์ปลาทอง
มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100
สายพันธุ์
ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี
โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ
แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3
แฉก
เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4
แฉก
คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า
มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง
ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
คือ
1. กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว มีลำตัวแบนข้าง
และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่
ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ
และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โคเมท ชูบุงกิ้น วากิ้น เป็นต้น
2. กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่ ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด
ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบหัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน
โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่
ออรันดา เกล็ดแก้ว รักเร่ แพนด้า โทะซะกิน เป็นต้น กับกลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีน สิงห์ญี่ปุ่น สิงห์ดำตามิด รันชู ลูกโป่ง
ตากลับ เป็นต้น
ปลาทองออรันดา
ในประเทศญี่ปุ่นปลาทองชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า “ ออแรนดา
ชิชิงาชิระ ” (
Oranda Shishigashira ) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “ Dutch Lionhead ” ปลาทองสายพันธุ์นี้ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรก
แต่จะเพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่าคงเกิดขึ้นในราวปลายศตวรรษที่ 18 และแพร่หลายในต้นศตวรรษที่ 19
ลักษณะปลาทองชนิดนี้คือมีลำตัวค่อนข้างยาว ครีบ
และหางมีลักษณะยาว
ส่วนหัวมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณหัวด้านบนมีวุ้นขึ้นหนาแลดูลักษณะคล้ายปลาสวมหมวกไว้บนหัว
ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาทองหัวสิงห์โต แต่ความหนาของวุ้นมีไม่มากเท่า
โดยปกติวุ้นจะมีลักษณะเล็กและละเอียดกว่าวุ้นของปลาทองหัวสิงห์
แต่ก็มีปลาบางตัวที่มีวุ้นขึ้นดกหนาจนดูคล้ายปลาทองหัวสิงห์เช่นกัน โดยปกติแล้วปลาชนิดนี้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า
โดยเฉพาะการพัฒนาการของวุ้นบนหัวค่อนข้างช้ามาก
แต่เมื่อปลาเริ่มโตและมีวุ้นขึ้นบนหัวเด่นชัดจะเป็นที่นิยมมาก
ซึ่งนั่นก็หมายถึงต้องซื้อขายกันในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ปลาทองหัวสิงห์จีน
จีนเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองสายพันธุ์นี้
ชาวตะวันตกเรียกปลาทองสายพันธุ์นี้ว่า Lionhead
ในประเทศไทยเรียกว่า
ปลาทองหัวสิงห์จีน ( Chinese Lionhead ) ลักษณะโดยทั่วไปจะมองคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น แต่ลำตัวค่อนข้างยาวไม่สั้นกลมอย่างสิงห์ญี่ปุ่น
และส่วนหลังก็จะโค้งน้อยกว่าสิงห์ญี่ปุ่น
หางใหญ่ยาวกว่าวุ้นบนหัวจะมีมากกว่าสิงห์ญี่ปุ่น วุ้นขึ้นปกคลุมส่วนหัวทั้งหมดและวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด
สีลำตัวและครีบมักจะมีสีอ่อนกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 15
เซนติเมตร
แต่ก็เคยพบบางตัวมีขนาดใหญ่ถึง 25 เซนติเมตร อายุเฉลี่ยประมาณ 5 - 7 ปี
ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
ปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์จากญี่ปุ่นนี้
จัดได้ว่าเป็นปลาทองหัวสิงห์ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นปลาที่มีทรวดทรงสวยงามและมีสีสันเข้มสด
ทำให้แลดูเด่นสะดุดตาเป็นที่ประทับตาประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นโดยเฉพาะเป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นผสมคัดพันธุ์มาจากปลาทองหัวสิงห์จีน
ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมปลาทองสายพันธุ์นี้จึงได้รับความนิยมสูงกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน
สำหรับหลักเกณฑ์การสังเกตปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
ปลาทองรันชู
หากจะกล่าวถึงสิ่งที่น่าสนใจของปลาทองรันชูด้วยคำพูดสั้น
ๆ คงเป็นเรื่องยาก ด้วยเสน่ห์ของปลาทองชนิดนี้ ที่ต่างจากปลาทองชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็น การเป็นปลาที่ชื่นชมความงามจากมุมมองด้านบน ( TOP VIEW ) ความสวยงามของหางที่แสดงถึงพวงหางที่สวยงาม
ส่วนหัวที่พอเริ่มมีอายุก็จะมีก้อนเนื้อวุ้นที่เติบโตตามตัว แสดงถึงสัญลักษณ์แห่งมังกร
หรือบางทีเน้นที่เขี้ยวปลาดูองอาจมีสง่าราศี
เกล็ดที่เรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบและสะท้อนรับกับแสงไฟ หรือแสงอาทิตย์
สันหลังที่ปราศจากครีบโค้งมนรับกับรูปทรงของตัวปลา
และสีสันสวดลายที่สะดุดตาผู้ชมยิ่งนัก
จึงไม่แปลกเลยที่ปลาทองรันชูนี้จะดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นมัน
และชักชวนให้เริ่มมาเป็นเจ้าของเลี้ยงดูกัน
การเลี้ยงตามความเชื่อ
นอกจากนี้แล้ว การเลี้ยงปลาทองยังอยู่ในความเชื่อของชาวจีนอีกด้วยว่าก่อให้เกิดโชคลาภ โดยว่ากันตามหลักฮวงจุ้ยว่ากันด้วยเรื่องจำนวนของปลาที่เลี้ยง, สีของปลา
และตำแหน่งการวางตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงด้วย ซึ่งแตกต่างออกไปตามลักษณะของบ้านและเจ้าของ
อาหารปลาทอง
1. อาหารธรรมชาติ
ปลาทองชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ
ไรแดง
ไรสีน้ำตาล
หนอนแดง และไส้เดือนน้ำ อาหารมีชีวิตเหล่านี้
มีคุณค่าทางอาหารสูงทำให้ปลาโตเร็วมีความสมบูรณ์ทางเพศดี
เหมาะสมต่อการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ โดยให้วันละ 1 - 2 ครั้ง
2. อาหารสำเร็จรูป
ได้แก่ อาหารเม็ดขนาดเล็กที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูง จะทำให้ปลาเจริญเติบโตดี และมีสีสันสวยงาม โดยทั่วไปควรประกอบด้วยโปรตีน
40 % คาร์โบไฮเดรต
44 % ไขมัน 10 % วิตามินและเกลือแร่
6 % การให้อาหาร
ควรให้วันละ
3 - 5 % ของน้ำหนักปลา
3 - 5 % ของน้ำหนักปลา
3. อาหารเร่งสี ปัจจุบันมีการใช้สารเร่งสี
ให้ปลากินเพื่อให้มีลำตัวสีแดง และมีการใช้สไปรูไรน่า
( Spirulina ) ผสมกับอาหารเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสีแดง
ส้ม
หรือสีเหลืองในตัวปลา จะใช้เลี้ยงปลาที่มีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ขึ้นไป
โดยให้กินในมื้อเช้า ส่วนในมื้อเย็นจะให้อาหารมีชีวิต
การเตรียมปลาเพื่อการเพาะพันธุ์
1. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ไม่ควรเลือกปลาคอกเดียวกันมาทำการผสมพันธุ์
เพราะอาจได้ลูกปลาที่มีลักษณะด้อย โตช้า อ่อนแอ หรือมีความผิดปกติ ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี
ไม่พิการ สีสันเข้มเด่นชัด มีความแข็ง แรงปราดเปรียว ควรมีอายุไม่เกิน
2 ปี เพราะปลารุ่นวางไข่ได้ครั้งละมาก ๆ น้ำเชื้อมีความแข็งแรงสมบูรณ์
2. การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
ปลาทองที่จะนำมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรมีอายุ 5
- 6
เดือนขึ้นไป สามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อซีเมนต์และบ่อดิน ที่มีระดับความลึก
20 - 40
ซม.
ปลาขนาด 3 - 4
นิ้ว ปล่อยตารางเมตรละ 4 - 6 ตัว ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่
ต้องเลี้ยงในบ่อที่ใหญ่ขึ้นด้วย น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทองควรเป็นที่สะอาดมีความเป็นกรดเป็นด่าง
( Ph ) 6.8 - 7.5 มีการเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ตลอดเวลา
การเพาะพันธุ์ปลาทอง
1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ใช้บ่อที่มีขนาดประมาณ
1 ตารางเมตร ปล่อยพ่อแม่ปลา 4 - 6 ตัว / บ่อ
โดยนำพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์พร้อมผสมพันธุ์ที่คัดไว้เรียบร้อย แล้วมาใส่ในบ่อเพาะ ในอัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมียเท่ากับ
1 : 1 หรือ
2 : 1 ขึ้นกับปริมาณน้ำเชื้อของตัวผู้และความสมบูรณ์เพศของแม่พันธุ์ปลา ตัวผู้จะเริ่มไล่ปลาตัวเมียโดยใช้ปากดุนที่ท้องปลาตัวเมีย
เพื่อกระตุ้นให้วางไข่
ตัวเมียจะปล่อยไข่เป็นระยะ ๆ ขณะเดียวกันตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่
ไข่จะกระจายติดกับสาหร่าย ผักตบชวา หรือเชือกฟางที่เตรียมไว้ในบ่อ แม่ปลาวางไข่ครั้งละ
500 - 5000
ฟอง โดยปริมาณไข่จะขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาหลังจากแม่ปลาวางไข่แล้ว ควรแยกพ่อแม่ปลาออกไปเลี้ยงในบ่ออื่น โดยปกติแม่ปลาทองจะวางไข่มากในช่วง
เดือน เม.ย.- ต.ค.
2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม การเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้ทำให้อัตราการผสมไข่และน้ำเชื้อสูงมาก มีอัตราการฟักไข่สูงกว่าการเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติแต่ขั้นตอนจะยุ่งยากมากกว่า
แม่พันธุ์ปลาทองที่พร้อมส่วนท้องจะนิ่มพร้อมที่จะวางไข่ ควรทำในตอนเช้ามืดใกล้สว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ปลาชอบผสมพันธุ์กันเอง โดยใช้ปลาตัวผู้
: ปลาตัวเมีย ในอัตราส่วน 1 : 1 หรือ 2 : 1 ตัว เพื่อให้น้ำเชื้อของตัวผู้มีปริมาณเพียงพอกับ จำนวนไข่ของปลาตัวเมีย รีดไข่จากแม่ปลาลงกะละมังที่มีน้ำสะอาด
แล้วรีดน้ำเชื้อจาก ปลาตัวผู้ 1 - 2 ตัว ลงผสมพร้อม ๆ กัน ขั้นตอนการรีดต้องรวดเร็วและนุ่มนวลเพราะปลาอาจเกิดการบอบช้ำและตายได้ถ้าปลาอยู่ในมือนาน
จากนั้นผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันเพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้ผสมกับไข่ของปลาตัวเมียได้อย่างทั่วถึง
จากนั้นล้างไข่ด้วยน้ำสะอาด 1 - 2 ครั้ง
เมื่อไข่ถูกน้ำจะดูดซึมน้ำเข้าภายในเซลล์ และมีสารเหนียว ๆ ทำให้ไข่ติดกับกะละมัง นำกะละมังที่มีไข่ติดอยู่
ไปใส่ในบ่อฟักที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยวางกะละมังให้จมน้ำ
ให้ออกซิเจนเบา ๆ เป็นจุด ๆ ตลอดเวลาไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักเป็นตัวภายใน
2 -3 วัน
อุณหภูมิของน้ำภายในอ่างฟักไข่อยู่ในช่วง 27 - 28 องศาเซลเซียส
การอนุบาลลูกปลา
ในช่วงที่ลูกปลาฟักตัวออกมาระยะ
2 - 3
วันแรก
ยังไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เนื่องจากลูกปลามีถุงอาหาร
( Yolk
sac ) ติดอยู่
หลังจาก 3 วัน แล้วจึงเริ่มให้อาหาร
โดยให้ลูกไรแดงขนาดเล็กที่ผ่านการกรองด้วยตาข่ายหรือจะให้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำหยดให้ปลากินวันละ
3 - 4 ครั้ง ถ้าปลากินเหลือควรดูดเศษอาหารออก
อัตราการเปลี่ยนน้ำแต่ละครั้งไม่ควรเกิน
20 - 25 % ของปริมาณน้ำในบ่อ 2 - 3 วันหลังจากนั้นควรเปลี่ยนเป็นไรแดงขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อลูกปลามีอายุ 15 วันจึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปและอาหารสดที่มีขนาดใหญ่เสริม ควรคัดปลาที่พิการออกเป็นปลาเหยื่อและเลือกลูกปลาที่มีลักษณะที่ดีไว้
และคัดขนาดลูกปลาให้มีขนาดสม่ำเสมอกัน
เพราะลูกปลาที่มีขนาดเล็กจะแย่งอาหารไม่ทันลูกปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าจึงควรคัดออกเพื่อนำมาแยกเลี้ยงการอนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็ก
ไม่ควรเลี้ยงในน้ำที่มีระดับความลึกมาก เพราะจะทำให้ปลามีรูปร่างไม่สวยงาม ควรเลี้ยงในอัตราส่วน 100 - 250 ตัว /
ตารางเมตร
การเลี้ยงปลาทองในตู้
เลือกสถานที่
ก่อนซื้อตู้ปลา ควรกำหนดจุด หรือบริเวณภายในบ้านหรืออาคารสำหรับเป็นที่ตั้งตู้ปลาเสียก่อน วัดขนาดความกว้างความสูงของสถานที่ ให้แน่นอนแล้วจึงไปหาซื้อตู้ที่มีขนาดพอเหมาะกับสถานที่ตั้ง จุดที่เหมาะสำหรับตั้งตู้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าได้ที่มีแสงแดดตอนเข้าส่องถึงจะดีมาก เพราะแสงแดดยามเช้าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ตรงกันข้ามกับแสงแดดยามบ่ายจะทำให้สีของปลาจางลงนอกจากนั้นแล้วจุดตั้งตู้เลี้ยงปลาควรอยู่ตรงที่สามารถขับถ่ายน้ำได้สะดวก
ก่อนซื้อตู้ปลา ควรกำหนดจุด หรือบริเวณภายในบ้านหรืออาคารสำหรับเป็นที่ตั้งตู้ปลาเสียก่อน วัดขนาดความกว้างความสูงของสถานที่ ให้แน่นอนแล้วจึงไปหาซื้อตู้ที่มีขนาดพอเหมาะกับสถานที่ตั้ง จุดที่เหมาะสำหรับตั้งตู้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าได้ที่มีแสงแดดตอนเข้าส่องถึงจะดีมาก เพราะแสงแดดยามเช้าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ตรงกันข้ามกับแสงแดดยามบ่ายจะทำให้สีของปลาจางลงนอกจากนั้นแล้วจุดตั้งตู้เลี้ยงปลาควรอยู่ตรงที่สามารถขับถ่ายน้ำได้สะดวก
ตู้เลี้ยงปลา
ตู้เลี้ยงปลาทองควรพิจารณาเลือกตู้ที่มีรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เลือกไว้ อย่างไรก็ตามขนาดของตู้ไม่ควรเล็กเกินไปถ้าต้องการจะตกแต่งตู้ด้วยพรรณไม้น้ำและวัสดุอย่างอื่นเช่นก้อนหิน หรือขอนไม้ ตู้เลี้ยงปลาปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ชนิด คือ ตู้ที่ทำด้วยแผ่นกระจก และตู้ที่หล่อขึ้นจากอะคริลิกใส ตู้กระจกมีข้อดีตรงที่ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเวลาทำความสะอาด แต่เสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก และมีรอยต่อตรงมุมตู้ส่วนตู้อะคริลิกมี่ข้อดีตรงที่มีความใสมากกว่าแผ่นกระจก ไม่มีรอยต่อตรงมุมตู้น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียที่ราคาแพง เกิดรอยขีดข่วนง่ายและถ้าเป็นอะคริลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชาด้วยเหตุนี้ตู้กระจกจึงยังได้รับความนิยมมากกว่า
ตู้เลี้ยงปลาทองควรพิจารณาเลือกตู้ที่มีรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เลือกไว้ อย่างไรก็ตามขนาดของตู้ไม่ควรเล็กเกินไปถ้าต้องการจะตกแต่งตู้ด้วยพรรณไม้น้ำและวัสดุอย่างอื่นเช่นก้อนหิน หรือขอนไม้ ตู้เลี้ยงปลาปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ชนิด คือ ตู้ที่ทำด้วยแผ่นกระจก และตู้ที่หล่อขึ้นจากอะคริลิกใส ตู้กระจกมีข้อดีตรงที่ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเวลาทำความสะอาด แต่เสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก และมีรอยต่อตรงมุมตู้ส่วนตู้อะคริลิกมี่ข้อดีตรงที่มีความใสมากกว่าแผ่นกระจก ไม่มีรอยต่อตรงมุมตู้น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียที่ราคาแพง เกิดรอยขีดข่วนง่ายและถ้าเป็นอะคริลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชาด้วยเหตุนี้ตู้กระจกจึงยังได้รับความนิยมมากกว่า
การจัดเตรียมตู้ปลา
ตู้ปลาที่ซื้อมาใหม่จะต้องล้างทำความสะอาดแล้วใสน้ำแช่ทิ้งไว้ 2 - 3 วัน ระหว่างที่ใสน้ำแช่ไว้ควรตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมที่ใดบ้างหรือเปล่าถ้ามีก็จัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นถ่ายน้ำที่แช่ไว้ออกให้หมด เช็ดให้แห้งแล้วนำไปวางเข้าที่ที่เตรียมไว้ การเคลื่อนย้ายตู้ปลาควรใช้มือช้อนเข้าไปในตู้แล้วยก อย่าจับขอบด้านบนแล้วยกเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้แผ่นกระจกด้านข้างโย้ไปมาจนกาวยึดรอยต่อเกิดการรั่วซึมหรือฉีกขาดได้
เตรียมแผ่นกรอง
แผ่นกรองก่อนนำมาใช้จะต้องทำความสะอาดเสียก่อนเนื่องจากแผ่นกรองทำด้วยพลาสติกที่ใช้สารเคมีในขบวนการผลิต ถ้าไม่ล้างออกให้หมดอาจเป็นอันตรายต่อปลา จากนั้นนำแผ่นกรองประกอบเข้ากับท่อระบายอากาศ ต่อสายยางจากปั้มลมเข้ากับท่อลมข้างท่อระบายอากาศ แล้วเอาแผ่นกรองวางแนบกับพื้นตู้
แผ่นกรองก่อนนำมาใช้จะต้องทำความสะอาดเสียก่อนเนื่องจากแผ่นกรองทำด้วยพลาสติกที่ใช้สารเคมีในขบวนการผลิต ถ้าไม่ล้างออกให้หมดอาจเป็นอันตรายต่อปลา จากนั้นนำแผ่นกรองประกอบเข้ากับท่อระบายอากาศ ต่อสายยางจากปั้มลมเข้ากับท่อลมข้างท่อระบายอากาศ แล้วเอาแผ่นกรองวางแนบกับพื้นตู้
เตรียมพื้นตู้
วัสดุที่ใช้ปูพื้นตู้โดยมากนิยมใช้ทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็ก ไม่ควรใช้ทรายละเอียด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลงตกตะกอนและเศษของเสียยังตกค้างอยู่บนพื้นผิวทราย เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น สำหรับปลาทองซึ่งเป็นปลาที่ชอบคุ้ยหาอาหารที่พื้นจึงควรใช้กรวดขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และควรเลือกกรวดที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมและปราศจากเศษเปลือกหอย ป้องกันปลาทองบาดเจ็บเมื่อว่ายไปชน
ก่อนนำกรวดมาใช้ปูพื้นตู้ปลาจะต้องล้างให้สะอาดจนหมดเศษดินแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 2 - 3 วันเพื่อกำจัดความเค็มที่อาจติดมากับกรวดถ้าจะให้ดีก็ควรเอากรวดมาลวกน้ำร้อนในถังแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 นาที เพื่อให้น้ำร้อนแทรกซึมเม็ดกรวดได้ทั่วถึง แล้วจึงนำมาล้างน้ำเย็นให้สะอาดก่อนนำไปใช้ นำกรวดที่ล้างสะอาดแล้วไปเทใส่ตู้กลบทับแผ่นกรองให้มิดและหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว ที่นิยมกันมากจะปูพื้นให้ระดับกรวดด้านหลังตู้สูงกว่าด้านหน้า พื้นกรวดที่มีลักษณะเอียงลาดแบบนี้เมื่อนานไป กรวดที่อยู่ระดับสูงจะเลื่อนไหลลงมาอยู่ที่ระดับเดียวกันเป็นพื้นราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควรหาอะไรมากั้นดักเอาไว้เป็นช่วง ๆ
วัสดุที่ใช้ปูพื้นตู้โดยมากนิยมใช้ทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็ก ไม่ควรใช้ทรายละเอียด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลงตกตะกอนและเศษของเสียยังตกค้างอยู่บนพื้นผิวทราย เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น สำหรับปลาทองซึ่งเป็นปลาที่ชอบคุ้ยหาอาหารที่พื้นจึงควรใช้กรวดขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และควรเลือกกรวดที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมและปราศจากเศษเปลือกหอย ป้องกันปลาทองบาดเจ็บเมื่อว่ายไปชน
ก่อนนำกรวดมาใช้ปูพื้นตู้ปลาจะต้องล้างให้สะอาดจนหมดเศษดินแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 2 - 3 วันเพื่อกำจัดความเค็มที่อาจติดมากับกรวดถ้าจะให้ดีก็ควรเอากรวดมาลวกน้ำร้อนในถังแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 นาที เพื่อให้น้ำร้อนแทรกซึมเม็ดกรวดได้ทั่วถึง แล้วจึงนำมาล้างน้ำเย็นให้สะอาดก่อนนำไปใช้ นำกรวดที่ล้างสะอาดแล้วไปเทใส่ตู้กลบทับแผ่นกรองให้มิดและหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว ที่นิยมกันมากจะปูพื้นให้ระดับกรวดด้านหลังตู้สูงกว่าด้านหน้า พื้นกรวดที่มีลักษณะเอียงลาดแบบนี้เมื่อนานไป กรวดที่อยู่ระดับสูงจะเลื่อนไหลลงมาอยู่ที่ระดับเดียวกันเป็นพื้นราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควรหาอะไรมากั้นดักเอาไว้เป็นช่วง ๆ
ขั้นตอนการเตรียมตู้ปลา
1. ใส่กรวดทับลงไปบนแผ่นกรอง
2. เกลี่ยกรวดให้เต็มพื้นตู้
3. ปรับระดับชั้นกรวดสูงต่ำตามต้องการ
4. ตกแต่งด้วยก้อนหิน ขอนไม้ ตามชอบ
5. ใส่น้ำโดยใช้พลาสติกหรือชามรองกันทรายกระจายขึ้นมา
6. ถ้าต้องการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้น้ำใส่น้ำลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อน
7. เริ่มปลูกต้นไม้น้ำที่เป็นฉากหลังก่อน
8. ปลูกต้นไม้น้ำระดับกลางตู้
9. ปลูกต้นไม้น้ำขนาดเล็กไว้ด้านหน้าตู้
10. หลังจากปลูกต้นไม้น้ำหมดแล้วให้ถ่ายน้ำทิ้ง
11. ใส่น้ำสะอาดไปให้เต็มตู้แล้วช้อนเศษใบและกิ่งก้านไม้น้ำที่ลอยอยู่ในน้ำออกให้หมด
12. ตู้ที่จัดเสร็จแล้วแต่น้ำยังขุ่นอยู่ ต้องรอให้น้ำใสเสียก่อนจึงค่อยปล่อยปลาลงไปเลี้ยง
1. ใส่กรวดทับลงไปบนแผ่นกรอง
2. เกลี่ยกรวดให้เต็มพื้นตู้
3. ปรับระดับชั้นกรวดสูงต่ำตามต้องการ
4. ตกแต่งด้วยก้อนหิน ขอนไม้ ตามชอบ
5. ใส่น้ำโดยใช้พลาสติกหรือชามรองกันทรายกระจายขึ้นมา
6. ถ้าต้องการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้น้ำใส่น้ำลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อน
7. เริ่มปลูกต้นไม้น้ำที่เป็นฉากหลังก่อน
8. ปลูกต้นไม้น้ำระดับกลางตู้
9. ปลูกต้นไม้น้ำขนาดเล็กไว้ด้านหน้าตู้
10. หลังจากปลูกต้นไม้น้ำหมดแล้วให้ถ่ายน้ำทิ้ง
11. ใส่น้ำสะอาดไปให้เต็มตู้แล้วช้อนเศษใบและกิ่งก้านไม้น้ำที่ลอยอยู่ในน้ำออกให้หมด
12. ตู้ที่จัดเสร็จแล้วแต่น้ำยังขุ่นอยู่ ต้องรอให้น้ำใสเสียก่อนจึงค่อยปล่อยปลาลงไปเลี้ยง
การตกแต่ง
อุปกรณ์สำหรับตกแต่งตู้เลี้ยงปลาทองต้องเลือกวัสดุที่ไม่มีเหลี่ยมคมไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน
หรือขอนไม้และที่ไม่ควรใช้อย่างยิ่งคือ ปะการัง
ซึ่งมีแง่แหลมคมมากมายเป็นอันตรายต่อปลาทอง อุปกรณ์ตกแต่งทุกชิ้นจะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดเสียก่อนจึงค่อยนำไปใช้
การใส่น้ำลงไปในตู้
ก่อนใส่น้ำลงไปในตู้ปลาควรเอาพลาสติกอ่อนคลุ่มพื้นตู้หรือเอาชามไปวางไว้ก้นตู้กันกรวดกระจายเพราะแรงน้ำ เมื่อใส่น้ำลงไปในตู้ครั้งแรกจะขุ่นขึ้นมาทันทีควรถ่ายทิ้งแล้วเติมน้ำใหม่ลงไปถ้าต้องการจะตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำก็ทำเสียตอนนี้ แต่ควรทราบไว้อย่างหนึ่งว่า ปลาทองส่วนใหญ่ชอบกัดทำลายพืชน้ำ หากต้องการให้ภูมิทัศน์ในตู้ปลามีสีสันของพรรณไม้น้ำขอแนะนำว่าควรใช้ต้นไม้น้ำประดิษฐ์มาตกแต่งแทน
หลังจากตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำแล้วหากน้ำขุ่นมากก็ถ่ายออกแล้วเติมน้ำใหม่ลงไป พร้อมกันนี้ก็เปิดเครื่องปั๊มลมเพื่อเติมออกซิเจนให้กับน้ำและให้ระบบการกรองเริ่มทำงานทันที น้ำที่เหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงปลาในตู้มากที่สุด คือ น้ำประปา เนื่องจากผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนมาแล้วจึงมั่นใจได้ว่าไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรค มาแพร่สู่ปลาที่เลี้ยง น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นน้ำจากบ่อ แม่น้ำ คลอง บึง ไม่เหมาะจะเอามาใช้เลี้ยงปลาทองเพราะเสี่ยงต่อจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับน้ำซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลา
ก่อนใส่น้ำลงไปในตู้ปลาควรเอาพลาสติกอ่อนคลุ่มพื้นตู้หรือเอาชามไปวางไว้ก้นตู้กันกรวดกระจายเพราะแรงน้ำ เมื่อใส่น้ำลงไปในตู้ครั้งแรกจะขุ่นขึ้นมาทันทีควรถ่ายทิ้งแล้วเติมน้ำใหม่ลงไปถ้าต้องการจะตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำก็ทำเสียตอนนี้ แต่ควรทราบไว้อย่างหนึ่งว่า ปลาทองส่วนใหญ่ชอบกัดทำลายพืชน้ำ หากต้องการให้ภูมิทัศน์ในตู้ปลามีสีสันของพรรณไม้น้ำขอแนะนำว่าควรใช้ต้นไม้น้ำประดิษฐ์มาตกแต่งแทน
หลังจากตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำแล้วหากน้ำขุ่นมากก็ถ่ายออกแล้วเติมน้ำใหม่ลงไป พร้อมกันนี้ก็เปิดเครื่องปั๊มลมเพื่อเติมออกซิเจนให้กับน้ำและให้ระบบการกรองเริ่มทำงานทันที น้ำที่เหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงปลาในตู้มากที่สุด คือ น้ำประปา เนื่องจากผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนมาแล้วจึงมั่นใจได้ว่าไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรค มาแพร่สู่ปลาที่เลี้ยง น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นน้ำจากบ่อ แม่น้ำ คลอง บึง ไม่เหมาะจะเอามาใช้เลี้ยงปลาทองเพราะเสี่ยงต่อจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับน้ำซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลา
วิธีกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปา
การกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เอาน้ำประปาไปพักไว้ในภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำ เช่น ตุ่ม ถัง หรือแม้แต่ตู้ที่จะเลี้ยง ปลาเป็นเวลาประมาณ 1 - 2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปจนหมด ระหว่างการพักน้ำหากเป่าอากาศลงไปด้วยก็จะช่วงเร่งคลอรีนให้ระเหยเร็วยิ่งขึ้น
วิธีกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาที่สะดวกที่สุดก็คือ เปิดน้ำประปาผ่านเข้าไปในเครื่องกรองน้ำแล้วเอาน้ำที่ออกมาไปใช้เลี้ยงปลาได้เลย เนื่องจากเครื่องกรองน้ำมีผงถ่านคาร์บอน ( Activated carbon ) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับคลอรีน สี และ กลิ่นต่าง ๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำทำให้น้ำที่ออกมาใสสะอาดปราศจากสีและกลิ่น
การกำจัดคลอรีนจากน้ำประปาอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้สารกำจัดคลอรีน สารที่มีว่านี้มีชื่อทางเคมีว่า " โซเดียมไธโอซัลเฟต " ( soudiumthio sulfate ) การใช้สารกำจัดคลอรีนต้องทำตามคำแนะนำในฉลากข้างภาชนะบรรจุโดยเคร่งครัด ถ้าใช้มากเกินไปตัวสารกำจัดคลอรีนเองจะกลับมาเป็นอันตรายต่อปลาที่ปล่อยลงไปเลี้ยงได้
การกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เอาน้ำประปาไปพักไว้ในภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำ เช่น ตุ่ม ถัง หรือแม้แต่ตู้ที่จะเลี้ยง ปลาเป็นเวลาประมาณ 1 - 2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปจนหมด ระหว่างการพักน้ำหากเป่าอากาศลงไปด้วยก็จะช่วงเร่งคลอรีนให้ระเหยเร็วยิ่งขึ้น
วิธีกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาที่สะดวกที่สุดก็คือ เปิดน้ำประปาผ่านเข้าไปในเครื่องกรองน้ำแล้วเอาน้ำที่ออกมาไปใช้เลี้ยงปลาได้เลย เนื่องจากเครื่องกรองน้ำมีผงถ่านคาร์บอน ( Activated carbon ) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับคลอรีน สี และ กลิ่นต่าง ๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำทำให้น้ำที่ออกมาใสสะอาดปราศจากสีและกลิ่น
การกำจัดคลอรีนจากน้ำประปาอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้สารกำจัดคลอรีน สารที่มีว่านี้มีชื่อทางเคมีว่า " โซเดียมไธโอซัลเฟต " ( soudiumthio sulfate ) การใช้สารกำจัดคลอรีนต้องทำตามคำแนะนำในฉลากข้างภาชนะบรรจุโดยเคร่งครัด ถ้าใช้มากเกินไปตัวสารกำจัดคลอรีนเองจะกลับมาเป็นอันตรายต่อปลาที่ปล่อยลงไปเลี้ยงได้
เกร็ดความรู้
1. ปลาทองเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน
2. ปลาทองถูกนำไปเลี้ยงยังต่างประเทศ
ประเทศแรกที่นำไปเลี้ยงคือญี่ปุ่น
3. การฟักตัวของไข่ปลาทองจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำและสภาพของไข่
ในอุณหภูมิ 15 - 19 องศา
4. ญี่ปุ่น คือประเทศแรกที่พัฒนาปรับปรุงพันธ์ปลาทองให้มีความสวยงาม
แม้จะเลี้ยงหลังประเทศจีนก็ตาม
5. ปลาทองสามารถอดอาหารได้นานนับเดือน
จากสถิติพบว่าบางตัวอดอาหารได้เกือบ 9 เดือนเต็ม
6. ช่วงอุณหภูมิที่ปลาทองสามารถปรับอยู่ไดจะอยู่ระหว่าง 0 - 35 องศา และช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือ 20 - 25 องศา
7. ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาของการฟักไข่ปลาทองกับอุณหภูมิของน้ำ
8. ในการเลือกซื้อปลาทอง
ควรเลือกปลาตัวที่ไม่เก็บครีบแนบกับลำตัวเพราะถือเป็นปลาที่มีลักษณะด้อย
9. สังเกตที่สีสันของปลา
เลือกปลาที่มีสีสันสดที่สุด หลีกเลี่ยงปลาตัวที่มีหม่นหมองหรือสีจาง ๆ
10. สังเกตดูลักษณะการว่ายน้ำไปในสายน้ำ
เลือกปลาตัวที่ว่ายน้ำไปได้อย่างปราดเปรียวและคล่องแคล่วที่สุด
11. สังเกตดูในขณะที่ปลาว่ายอยู่ในตู้
ครีบบนหลังตั้งชู แม้ว่าจะพลิ้วไปในสายน้ำ
แต่ไม่ควรจะมีลักษณะงองุ้มหรือหักเข้าข้างลำตัว
ปลาที่มีครีบตั้งขึ้นแสลงว่าเป็นปลาที่คุณภาพดีมาก
12. อย่าเลือกซื้อปลาตัวที่เคลื่อนไหวอยู่กับกรวดทรายก้นตู้ปลา
หรือไม่ว่ายน้ำแต่นิ่งซึมอยู่มุมใดมุมหนึ่งก้นตู้ เพราะนั่นเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าปลาสุขภาพไม่ดีหรืออาจตายได้ง่าย
13. พยายามหาจุดสีขาวบนตัวปลา
โดยอาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นจุดธรรมชาติของปลา หากปลาทองมีจุดฝ้าสีขาวอยู่บนลำตัวนั่นคือปลาที่เจ็บป่วย
14. น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาทองหากเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลต้องมีการพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 วัน
เพื่อให้สารพิาต่าง ๆ ที่ปนอยู่ได้คลายตัวไปบ้าง เช่น คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์
15. ปลาทองที่วางไข่ครั้งแรกแล้วจะสามารถวางไข่ติดต่อกันไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6 - 7 ปี
16. ปลาทองเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปี
แต่จะชุกมากในเดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม หรือช่วงที่อากาศไม่เย็นจนเกินไป
17. การเร่ง หรือยืดเวลาในการฟักไข่ของปลาทอง
โดยการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำ ไม่มีผลให้ลูกปลามีสภาพดีขึ้น แต่กลับเกิดผลเสียมากกว่า
18. การย้ายแม่ปลาทองที่ออกไข่จะต้องย้ายทันทีเมื่อปลาทองวางไข่
เพราะมันจะเริ่มกินไข่ของตัวเองทันทีในวันต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น