กระบวนการจัดการ
การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM
= Knowledge Management) คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้
รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit
Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง
ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย
เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้ง
จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม
ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง
ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge
Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะ
ช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่เกิดกระบวนการจัดการความรู้
หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ – เช่นพิจารณาว่า
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ –
เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า
กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ -
เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้
อย่างเป็นระบบในอนาคต
SECI Model
SECI Model - เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยการขยายผลจากชนิดความรู้คือ
ความรู้ที่อยู่ในสมองของคน(Tacit Knowledge) กับความรู้ที่ได้จากสื่อภายนอก(Explicit
Knowledge)โมเดลดังกล่าวมีชื่อว่า “SECI-
Knowledge Conversion Process” ซึ่งมีกระบวนการดังนี้
1.Socialization เป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างกลุ่มคนหรือบุคคล
โดยไม่ผ่านการเขียน เรียกว่า “ การเสวนาธรรม”
กลุ่มคนที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง
กลุ่มคนที่มาเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันนี้มักจะมีพื้นฐานความรู้ที่สอดคล้องกัน
หรือเคยมีประวัติอดีตที่คล้ายคลึงกัน
จะมีคลื่นความถี่ที่ใกล้เคียงกันสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย
2. Externalization เป็นการถ่ายโอนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการสอนผ่านสื่อต่างๆ
จากประสบการณ์ในสมองของเขาออกมาสู่ภายนอกแก่ผู้อื่น
3. Combination การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง
และมีการศึกษาเรียนรู้จากความรู้ภายนอก
ซึ่งแนวคิดจะมีความหลากหลายมากต้องสร้างความเข้าใจแลเชื่อมโยงความรู้อันหลากหลายให้ได้
และถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้กับองค์กรของตน
4. Internalization การนำความรู้ใหม่มาลงมือปฏิบัติจริง
ผู้ปฏิบัติจะเกิดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญา
เป็นประสบการณ์อยู่ในสมองในเชิง Tacit Knowledge ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น